เรื่องต้องรู้! อันตรายจาก “สารสไตรีนโมโนเมอร์” และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสควันพิษ
กรณีการเกิดเหตุระเบิดภายในโรงงานผลิตเม็ดโฬมพลาสติกในซอยกิ่งแก้ว 21 จ.สมุทรปราการ ซึ่งแรงระเบิดทำให้เกิดความเสียหายและความสูญเสียตามมาอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดเพลิงลุกไหม้ตามมาและยังพบอันตรายจากสารเคมีสไตรีนโมโนเมอร์ ทาง “กรมควบคุมโรค” จึงออกมาให้ข้อมูล เตือนระวังอันตรายจากสารเคมีที่ทำให้เกิดควันพิษ
อันตรายจากสารเคมีสไตรีนโมโนเมอร์
-ทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ
-ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย คลื่นไส้
-รู้สึกระคายเคืองผิว ทำให้ผิวแดง แห้ง และแตก
-สารสไตรีนโมโนเมอร์ยังเป็นสารที่อาจก่อให้เป็นมะเร็งได้
-หากได้รับสารพิษปริมาณมาก อาจทำให้เกิดอาการหมดสติและเสียชีวิตได้
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสกับควันพิษ
1.หากโดนผิวหนัง ให้ล้างบริเวณที่ถูกสารเคมีโดยใช้น้ำสะอาดล้างให้มากที่สุดเพื่อให้เจือจาง ถ้าสารเคมีถูกเสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออกก่อน
2.หากเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที โดยเปิดเปลือกตาขึ้นให้ไหลผ่านตาอย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
3.หากการสูดดมควันพิษเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์หรือมีอากาศถ่ายเท และทำการประเมินการหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ ถ้าชีพจรอ่อนให้ทำการปั้มหัวใจช่วยชีวิต หรือ CPR และแจ้งไปที่เบอร์สายด่วนศูนย์แพทย์ฉุกเฉิน โทร. 1669
สำหรับคนในพื้นที่ใกล้เคียง
- สวมใส่หน้ากากที่มีไส้กรองทำด้วยชาร์โคลเป็นวัสดุดูดซับ (CHACOAL MASK)
- หลีกเลี่ยงการออกไปในพื้นที่โล่งแจ้ง
- เตรียมพร้อมอพยพตลอดเวลา
- ติดตามข่าวสารจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
cr.กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ขอบคุณรูปภาพบางส่วนจากคลิป FB: NAKON45 อัญวุฒิ โพธิ์อำไพ