ใช้เครื่องจับเท็จหามือลักกระเป๋า “คิมเบอร์ลี่” 

ใช้เครื่องจับเท็จหามือลักกระเป๋า “คิมเบอร์ลี่” 

0

ใช้เครื่องจับเท็จหามือลักกระเป๋า “คิมเบอร์ลี่” 
       รายงานความเคลื่อนไหวคดีของ “คิม คิมเบอร์ลี่” ภายหลังที่เข้าแจ้งความกระเป๋าแบรนด์หรูหายไปจากคอนโด ดาราเดลี่ได้สัมภาษณ์อดีตนายตำรวจระดับสูงที่ทำงานด้านพิสูจน์หลักฐานท่านหนึ่งถึงคดีนี้ ทราบว่ากำลังจะมีการเรียกตัวผู้ใกล้ชิดของนักแสดงคนดังเข้าเครื่องจับเท็จ หรือ โพลิกราฟ  โดยเขาเผยแก่ดาราเดลี่ว่า การใช้เครื่องจับเท็จเป็นเพียงเครื่องมือประกอบการพิจารณาคดี ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เครื่องดังกล่าวจับวัดโดยอาศัยหลักการเต้นของหัวใจ เครื่องจับเท็จจะทำหน้าที่เช็คการเต้นของหัวใจ ถ้ามีอะไรผิดปกติเช่นตื่นเต้น ตกใจ ฉะนั้นถ้าผู้ทีเข้าเครื่องจับเท็จป่วย ไม่สบาย หรือไม่ก็แค่ตื่นตะหนกเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่ก็อาจจะไม่ได้ผล และที่สำคัญผลของเครื่องจับเท็จนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาคดีของศาลได้ 

อ่านข่าวต่อ:“คิมเบอร์ลี่” เครียด! กระเป๋าแบรนด์เนมหาย คาดฝีมือคนใกล้ตัว

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

       ล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ความเคลื่อนไหวคนใกล้ชิด ผู้จัดการ อดีตผู้จัดการ แม่บ้าน อดีตแม่บ้านและคนพิเศษ  แต่ก็ยังไม่ตัดประเด็นคนนอกซึ่งจะต้องขอเช็ควงจรปิดอย่างละเอียด 
สำหรับเครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ เป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้การบันทึกสัญญาณที่ส่งจากตัวรับสัญญาณ (เซนเซอร์) จากหลายจุด ตามความหมายของคำว่าโพลี (poly) ไปยังกราฟคอมพิวเตอร์ ซึ่งเซนเซอร์จะบันทึก การหายใจ/ การเต้นของชีพจร/ ความดันโลหิต และการขยายตัวของปอด
       เครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ มีเป้าหมายเพื่อดูว่าบุคคลผู้นั้นกำลังบอกความจริงหรือกำลังโกหกอยู่ ในขณะที่ตอบปัญหาในบางคำถาม เมื่อเข้าเครื่องจับเท็จ จะมีการวางตัวรับสัญญาณไว้บนร่างกาย 4 – 6 จุด

       โดย เครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ จะจับการเคลื่อนไหวและการขยับเขยื้อนทั้งหมดของผู้เข้ารับการทดสอบตลอดช่วงเวลาของการทดสอบผ่านทางตัวจับสัญญาณทั้งหมด และยังมีการบันทึกเสียงและวิดีทัศน์อีกด้วย เพื่อเป็นหลักฐานและเพื่อเป็นข้อมูลเสริม

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

คิมเบอร์ลี่ แอน เทียมศิริ

       การตรวจจับของ โดยเครื่องจับเท็จ หรือ โพลีกราฟ
อัตราการหายใจ
กราฟ 2 เส้นที่จับการทำงานของปอด (Pneumographs) โดยใช้สายยางที่เติมอากาศไว้ นำมารัดไว้รอบอกและช่องท้อง เมื่อรอบอกหรือท้องขยายอากาศในท่อดังกล่าวจะถูกเบียด แต่ถ้าเป็นอานาล็อกโพลีกราฟ ท่ออากาศที่ถูกแย่งที่ก็จะย่นเหมือนเวลาเราเล่นแอคคอร์เดียนที่พับเมื่อโดนเบียด และคลี่ตัวเมื่อโดนดึงขยาย และตัวสูบลมนี้ก็ติดอยู่กับแขนกล ที่ต่อกับปากกาเพื่อลากไปบนกระดาษตามแรงหายใจ ส่วนดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้ท่อจับการทำงานของปอดเช่นกัน แต่จะบรรจุเครื่องแปลงกำลัง (transducers) ไว้เพื่อเปลี่ยนพลังงานของอากาศที่ถูกเบียดให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้า
ความดันโลหิต/อัตราการเต้นของหัวใจ
       พันแถบวัดความดันโลหิตไว้รอบต้นแขน พร้อมกับต่อเข้ากับโพลีกราฟ ขณะที่เลือดสูบฉีดผ่านแขนก็จะเกิดเสียง การเปลี่ยนแปลงแรงดันเลือดทำให้เสียงไปแทนที่อากาศในหลอดที่เชื่อมต่อตัวสูบลมที่เป็นจีบเพื่อขยับปากกา ซึ่งถ้าในดิจิตอลโพลีกราฟก็ใช้หลักการเช่นเดียวกับอัตราการหายใจ
       ความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนัง (Galvanic skin resistance : GSR)
หรือจะเรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง” โดยทั่วไปก็จะวัดปริมาณเหงื่อที่ปลายนิ้ว เพราะที่ปลายนิ้วเป็นบริเวณที่มีรูมากที่สุดในร่างกาย และเป็นตำแหน่งที่สังเกตเหงื่อได้ง่าย คนเราเมื่ออยู่ในสถานการณ์กดดันแล้วจะมีเหงื่อออกมาผิดปกติ จานรองนิ้วมือซึ่งก็คือ “เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า” (galvanometers) จะติดอยู่กับนิ้ว 2 นิ้ว โดยวัดความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า เมื่อผิวหนังชื้นหรือเหงื่อออกมาก ก็จะนำกระแสไฟฟ้าได้ง่ายกว่าผิวหนังที่แห้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่องทูพีชซุปตาร์สุดฮอตโชว์แซ่บร้อนแรงของแทร่

“คิมเบอร์ลี่” หัวใจแทบวาย! เล่าสิ่งที่น่ากลัวกว่าผีกับโจร มาแบบไม่ทันตั้งตัว

หวานฉ่ำ! “หมาก-คิม” ควงคู่ฉลองงานแต่ง อีก 2 ปีเตรียมมีเบบี๋

“หมาก-คิม” เล่าโมเมนต์น้ำตาแตกวันวิวาห์ รอดูดวงชื่อจดทะเบียนสมรส เผยแพลนมีเบบี๋

“คิมเบอร์ลี่” บินไปปารีสดูแฟชั่นโชว์โอตกูตูร์ คอลเลคชั่น Dior Couture ครั้งแรก

“คิมเบอร์ลี่” ขอระบายใกล้งานแต่ง “หมาก” แต่ยังไม่มีอะไรพร้อมสักอย่าง

“คิมเบอร์ลี่” เล่าเคยโดนบูลลี่ตัวจริงไม่เหมือนในจอ พร้อมอัปเดตงานแต่ง 2 ประเทศสุดโรแมนติก

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments