“ครูก้อย นัชชา” เผยงานวิจัย “น้ำมะกรูด” และ “น้ำผึ้งชันโรง” มี “สารฟลาโวนอยด์” ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
ฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เป็นสารประกอบ ฟีนอลิก(phenolic compounds) ประเภทพอลิฟีนอล (polyphenol) มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระจะทำหน้าที่ปกป้องเซลล์และเนื้อเยื่อจากการถูกทำลายจากกระบวนการอักเสบในร่างกาย ซึ่งการอักเสบส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีไม่จับตัวเป็นก้อน ช่วยต้านจุลินทรีย์ และช่วยปกป้องเซลล์ไข่ไม่ให้ฝ่อง่าย และลดการอักเสบในมดลูก และปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่ง สารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) พบในมะกรูดสมุนไพรคู่ครัวไทยและน้ำผึ้งชันโรงที่ได้ชื่อว่าเป็นโภชนเภสัชที่หาทานได้ไม่ยาก
"ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์" ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก BabyandMom.co.th โดย บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า จากการรวบรวมการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยากทั้งในและต่างประเทศเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้มีบุตรยากผ่านทางเพจ พบว่า“มะกรูด” และ”น้ำผึ้งชันโรง” มีคุณประโยชน์ทางยามากมายที่ใช้กันสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ
โดย “มะกรูด” เป็นพืชสมุนไพรไทย ที่สามารถทำมาประกอบอาหาร และดูแลด้านความงามทั้งสระผมและผิวพรรณแล้ว มะกรูดยังมีคุณสมบัติทางยามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการอักเสบ จึงมีส่วนช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและต้านทานโรคหลายชนิด อีกทั้งมะกรูดยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และช่วยฟอกเลือดสตรี ช่วยขับระดู จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในยาบำรุงประจำเดือน ซึ่งมักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
มีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี ค.ศ. 2009 ศึกษาพบว่า ในมะกรูดสดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ชื่อว่า เควอซิทิน(Quercetin) สูงสุดในกลุ่มของพืชผลไม้รสเปรี้ยวเป็นแอนตี้ออกซิแดนซ์ชั้นดี ช่วยต้านอนุมูลอิสระให้กับเซลล์ โดยจากผลวิจัยพบว่า ตัวอย่างมะกรูดสดมีสารฟลาโวนอยด์รวม 1,104±74 มิลลิกรัมต่อมะกรูด 100 กรัม (ประมาณ 1.1 ส่วนในน้ำหนักร้อยส่วน) ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณแอนตี้ออกซิแดนซ์ (Antioxidant) รวมที่สูงมาก และมี “สารเควอซิทิน” 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ศึกษาพบว่าสาร "เควอซิทีน" ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ รอบเดือน และการตั้งครรภ์
ครูก้อย นัชชา กล่าวเสริมว่า ในขณะเดียวกัน ผึ้งชันโรง (Stingless Bees) ซึ่งเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน ตัวเล็กๆ โดยตัวชันโรงจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เท่านั้น ไม่เหมือนผึ้งเลี้ยงที่กินน้ำตาล จึงทำให้น้ำผึ้งที่ได้มีวิตามินและสารอาหารที่หลากหลาย และให้สารต้านอนุมูลอิสระ "ฟีนอลิก" (Phenolic) สูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป 5-10 เท่า ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค สร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Report เมื่อปี 2020 ศึกษาพบว่าในน้ำผึ้งชันโรงนั้นมีน้ำตาลชนิดTrehalulose ที่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดที่ขณะนี้พบในน้ำผึ้งชันโรงเท่านั้น และยังเป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และค่าดัชนีอินซูลินต่ำ ( Low Insulinemic Index) จึงเป็นน้ำตาลที่มีประโยชน์และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ (acariogenic) และยังให้สาร antioxidant สูงอีกด้วย
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Brazilian Journal of Phamacognosy เมื่อปี 2016 ศึกษาถึงสรรพคุณของน้ำผึ้งชันโรงต่อ fertility พบว่า น้ำผึ้งชันโรงช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการท้องยากเพราะเมื่อเราเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่ชื่อว่าคอร์ติซอลออกมาและจะขัดขวางสมดุลของฮอร์โมนเพศนั่นเอง
ลักษณะสีของน้ำผึ้งชันโรงและรสชาติเปรี้ยวอมหวานเกิดจากการหมักบ่มตามธรรมชาติและมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้และมดลูก ทั้ง โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และ พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) และยังมีฤทธิ์ต้านการการอักเสบ (Anti-inflammatoty) ช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่าย และซึ่งการอักเสบในร่างกายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท้องยาก
การอักเสบสัมพันธ์กับการมีบุตรยากอย่างไร
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่าการอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gyneological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรนั้น การอักเสบมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะต่างๆ ดังนี้ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น