สวยแล้วตลกอีก! “ปุ๊กลุก-จีน่า” อย่างฮา มาในธีมรอประกวดนางนพมาศ

สวยแล้วตลกอีก! “ปุ๊กลุก-จีน่า” อย่างฮา มาในธีมรอประกวดนางนพมาศ

0

สวยแล้วตลกอีก! “ปุ๊กลุก-จีน่า” อย่างฮา มาในธีมรอประกวดนางนพมาศ            

        ธีมลอยกระทงปีนี้สำหรับสองดาราดัง “ปุ๊กลุก ฝนทิพย์”  “จีน่า วิรายา” คือมาแนววิถีชีวิตและเน้นฮา เพราะทั้งสองลงภาพในแนวแบบไทยที่สุดเป็นชุดนางนพมาศแปะเบอร์รอประกวดที่งานวัดย่านพระประแดง โดยจีน่าโพสต์ว่า  ถ้าหน้าลอยแล้ว กระทงก็ไม่จำเป็น  #กรรมการจะตัดสินแล้วยังไม่ถึงเวทีเลย

อ่านต่อ: กระทงเมตาเวิร์สของ “เกรซ กาญจน์เกล้า” ประชันธาราแห่ง

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

      สำหรับการลอยกระทงปีนี้ กรมควบคุมมลพิษ แนะนำกระทงแบบนี้
กรมควบคุมมลพิษ เผยปริมาณกระทงที่กรุงเทพมหานครเก็บขนได้ ระหว่างปี 2551 - 2564 พบว่า ในปี 2557 มีปริมาณกระทงที่เก็บได้มากที่สุด 982,054 ใบ แบ่งเป็นกระทงใบตอง 885,995 ใบ (ร้อยละ 90) และกระทงที่ทำจากโฟม 96,069 ใบ (ร้อยละ 10)

      ขณะที่ปี 2564 นั้น มีกระทงที่จัดเก็บได้รวม 403,235 ใบ เป็นกระทงใบตอง 338,954 ใบ (ร้อยละ 96.46) และกระทงที่ทำจากโฟม 14,281 ใบ (ร้อยละ 3.54)

       แต่เมื่อย้อนกลับไปในปี 2554 กลับพบว่า มีปริมาณกระทงที่เก็บได้เพียง 322,779 ใบ แต่ในจำนวนนี้ เป็นกระทงใบตองเพียง 264,942 ใบ (ร้อยละ 82) แต่มีกระทงที่ทำจากโฟมถึง 57,837 ใบ (ร้อยละ 18) เลยทีเดียว 

       ข้อดี-ข้อเสีย ของกระทงที่ทำจากวัสดุต่างๆ
ทั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษ เผยข้อดี และข้อเสียของกระทงจากวัสดุธรรมชาติและกระทงโฟม โดยแบ่งเป็นกระทงที่ทำจากวัสดุต่างๆ ดังนี้

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

 

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

กระทงใบตอง

ข้อดี : ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และลดการใช้วัสดุสังเคราะห์อื่นๆ ที่ทำให้เกิดการลดภาวะเรือนกระจก ลดภาวะจากโลกร้อน

ข้อเสีย : หาวัสดุในการทำยาก, ถ้ามีจำนวนมากไป ทำให้เกิดการเน่าเปื่อย ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อม และใช้เวลาในการย่อยสลาย 14 วัน

กระทงขนมปัง

ข้อดี : หาวัสดุได้ง่าย, ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และสามารถเป็นอาหารปลา เหมาะกับบ่อน้ำธรรมชาติ

ข้อเสีย : ใช้เวลาในการย่อยสลาย 3 วัน และอาจมีคราบไขมันลอยบนผิวน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียได้

กระทงดอกบัว

ข้อดี : ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ขนาดเล็ก และเกิดขยะน้อยชิ้น

ข้อเสีย : หาวัสดุในการทำยาก, ถ้ามีจำนวนมากไป ทำให้เกิดการเน่าเปื่อย ส่งกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและสภาพแวดล้อม และใช้เวลาในการย่อยสลาย 14 วัน

กระทงน้ำแข็ง

ข้อดี : สามารถทำได้ง่าย เมื่อลอยแล้วกลายเป็นน้ำ ไม่มีขยะตกค้าง

ข้อเสีย : ไม่สะดวกในการขนย้าย เนื่องจากน้ำแข็งละลายง่าย

กระทงกระดาษ

ข้อดี : หาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการทำง่าย เก็บรักษาง่าย น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้นาน

ข้อเสีย : ใช้เวลาในการย่อยสลายค่อนข้างนาน ประมาณ 2-5 เดือน

กระทงโฟม

ข้อดี : หาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการทำง่าย เก็บรักษาง่าย น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้นาน

ข้อเสีย : ใช้เวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาตินานกว่า 500 ปี จึงต้องใช้วิธีต่างๆ ในการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นฝังกลบ การนำไปรีไซเคิล และการเผา แต่ก็จัดการได้ยาก เพราะเมื่อนำไปฝังกลบจะเปลืองเนื้อที่ฝังกลบ หากนำไปเผาจะเกิดก๊าซเรือนกระจก

ปุ๊กลุก ฝนทิพย์ จีน่า วิรายา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments