“ลูกคนจีน” เล่าที่มาของ “ขนมเข่ง” 

“ลูกคนจีน” เล่าที่มาของ “ขนมเข่ง” 

0

“ลูกคนจีน” เล่าที่มาของ “ขนมเข่ง” 

       รับเทศกาลตรุษจีน ทางดาราเดลี่ขอเริ่มความเป็นมาของ ขนมเข่ง โดยได้บทความมาจาก “ลูกคนจีน” เจ้าของเพจดังลูกคนจีนที่แฟนๆ รู้จักกันดี 

อ่านต่อ:อย่าไปคุยกับใคร ว่ามาถึงเชียงใหม่ ถ้ายังไม่ได้ชิม “ข้าวซอยเนื้อป้า

“ขนมเข่ง” 

“ขนมเข่ง” 

        โดยเธอเผยเรื่องราวขนมเข่งว่า  “ขนมเข่ง” แต่ถ้าจะให้ชัดขึ้นต้องพูดว่า #ขนมปีใหม่ 年糕 ขนมที่ทำจากข้าวประจำเทศกาลตรุษจีน ซึ่งมีค.หลากหลายมากในวัฒนธรรมจีน อย่างในรูปนี่คือสไตล์ฮกเกี้ยน พบมากในภ.ใต้ของไทย, มาเล-สิง, ไต้หวันและจีนมณฑลฝูเจี้ยน 
“ขนมเข่ง”  ที่คนไทยคุ้นมีชื่อแต้จิ๋วว่า #ตีก้วย / #เตี่ยมก้วย 甜粿 เนี่ยจัดเป็นเค้กข้าวของจีนอย่างนึงที่คนจีนมักจะทำกินเป็นของกินพิเศษในช่วงเทศกาลตรุษจีน และเรียกว่า 年糕 แปลว่าเค้กประจำปี คือพูดง่ายๆตีก้วย(ขนมเข่ง)บ้านเราเนี่ย เป็นซับเซทของเหนียนเกา พบได้ตามจีนโซนต/อเฉียงใต้ 

         #เหนียนเกา 年糕 เป็นอาหารประจำเทศกาลปีใหม่ของคนจีนฮั่นในทุกภูมิภาคเลย ทำมาจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำนวดก่อนจะเอาไปนึ่ง หรือบางพื้นที่ก็จะเอาข้าวเหนียวสุกไปตำ นวดและขึ้นรูป ซึ่งแต่ละภูมิภาคของจีนจะมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อย แล้วทำไมต้องเหนียนเกา ขนมเข่งหรือเค้กข้าว ถึงเป็นของประจำเทศกาลปีใหม่อย่างตรุษจีน???

“ขนมเข่ง” 

“ขนมเข่ง” 

        และช่วงตรุษจีน…จะเป็นช่วงเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิค่ะ จุดเริ่มของความอุดมสมบูรณ์ และข้าวก็คือคำตอบเชิงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ แถมการตั้งชื่อ เหนียนเกา ก็เป็นความหมายเชิงมงคลด้วยค่ะ ความมงคลแบบสำเนียงจีนกลางของ #ขนมเข่ง ก็คือ…
年 = ปี
糕 พ้องเสียงกับ 高 ที่แปลว่าสูง
       พอจับมาพ้องเสียงรวมๆกันว่า 年年高高 จะแปลให้สวยๆอาจจะแปลได้ว่า ก้าวหน้าไปทุกปี อวยพรให้มีความก้าวหน้าเติบโตในทางที่ดีก็ได้

        ส่วน “ขนมเข่ง” แบบที่เรากินกันเป็นเหนียนเกาแบบทางแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน พบได้ทั่วไปในมณฑลกวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และโพ้นทะเล คนแถบนี้จะกินคล้ายกันมาๆดูของโซนอื่นกันมั่งค่ะ อย่างอันนี้เป็นของจีนทางตอนเหนือค่ะ เช่นทางปักกิ่ง เป็นแป้งข้าวเหนียวใส่ถั่วแต่เอาจริงคนทางเหนือชอบกินเกี๊ยวมากกว่า 

การกินเหนียนเกา

การกินเหนียนเกา​​​​​​

        苏耗子 เป็นเหนียนเกาของคน #ตงเป่ย (ภาคอีสานจีน) ได้รับอิทธิพลมาจากขนมของชาวแมนจู เป็นแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ถั่วแดงก่อน แล้วห่อด้วยใบซู่ 苏叶(ตระกูลใบงาม่อน/โอบะ)ก่อนนำไปนึ่ง ไม่ใช่ใบซากุระดอง 

         ขนมเหนียนเกาทางเมืองหนิงโป ในเจ้อเจียง และยูนนานจะนิยมทำเป็นแท่งยาว และหลายครั้งจะชอบนำไปทำอาหารคาว อย่างผัด หรือต้มน้ำแกง ยูนนานนิยมเรียก เอ่อร์ไคว่/ปาปา ในช่วงปกติด้วยค่ะขนมเหนียนเกาทางเจียงหนาน (แถบๆเจ้อเจียง) โดยเฉพาะเมืองซูโจว นิยมทำเป็นแป้งข้าวเหนียวหวานรูปก้อนอิฐ และเวลากินบางครั้งก็จะนำมาราดด้วยน้ำเชื่อมดอกกุ้ยฮวา  #ขนมเข่ง หรือพูดกว้างๆว่าเหนียนเกา ก็เป็นตัวอย่างอาหารประจำเทศกาลที่กลายเป็นอาหารวัฒนธรรมร่วมที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาและปวศ.ท้องถิ่นได้ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments