เพราะแต่ละคนย่อมมีพื้นฐานที่ต่างกัน มีประสบการณ์การรับรู้ที่ต่างกัน และที่สำคัญ ทุกคนก็ยังอยู่ในกลุ่มผลประโยชน์ ไม่ในสถานการณ์ใดก็สถานการณ์หนึ่ง แต่มิได้หมายความว่าฝึกไม่ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ หากเราควบคุมจิตใจตนเองได้ก็นับได้ว่าชนะไปมากกว่าครึ่ง และนี่คือเคล็ดลับ 5 ประการ ที่จะฝึกทำใจให้เป็นกลาง…
1. อย่ามองตัวเองเป็นศูนย์กลาง
นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่สุด เพราะถ้ามองปัญหาต่าง ๆ จากมุมมองฝ่ายเดียว ใจย่อมไม่เป็นกลาง เพราะเราจะไม่มอง ไม่พยายามเข้าใจเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดของผู้อื่น
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา
เพื่อให้เรามองเห็นภาพแบบองค์รวม ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ความหมายก็คือ ต้องลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นเขา อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเขา มีข้อจำกัดแบบเขา เราจะคิดตัดสินใจเช่นไร
3. มองอย่างเจาะลึกหลายชั้น อย่าเอาอาการมาเป็นสาเหตุ
บ่อยครั้งที่ปัญหาความขัดแย้งไม่ อาจแก้ไขได้ เพราะมองตื้นเขินเกินไป เอาอาการมาเป็นสาเหตุ จึงควรมองอย่างเจาะลึกเพื่อค้นหาเหตุที่แท้จริง จะได้แก้ไขตรงจุด ถูกประเด็น
4. มองไปที่อนาคตเพื่อ “อยู่” ไม่ใช่ “แยก”
เพราะการมองเช่นนี้เพื่อให้ทุก ฝ่ายยังคงดำรงอยู่ได้ มิใช่แก้ไขเพื่อให้ต้องตายกันไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นการมองทางออกในทัศนคติที่เป็นบวกต่อทุกฝ่าย
5. หาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้ “อยู่ร่วมกัน” ต่อไปได้
การมีทัศนคติที่เป็นบวกยังไม่ใช่ ขั้นตอนสุดท้าย แต่ต้องหาข้อสรุปในทางเทคนิคหรือวิธีการที่สอดรับกับ “ใจที่เป็นกลาง” ด้วย ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาบ่อยครั้งก็มาพลาดท่าตรงนี้เอง เพราะผู้รับช่วงต่อใจยังไม่เป็นกลางพอ ยังคิดแบ่งพรรคแบ่งพวก เจ้าโกรธเจ้าแค้น…
แค่นี้เราก้อมีใจเป็นกลางแล้วล่ะ ค่ะเพื่อนๆๆ ซึ่ง5ข้อนี้ฉันก็กำลังหัดอยู่ค่ะ จะได้มีใจเป็นกลาง จะได้ไม่ต้องคิดมากกับสังคมปัจจุบัน ♦