“โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์” ตัวพ่อทีมอเวนเจอร์ส กับบทบาทและทิศทางใหม่ของ “ไอรอนแมน”

“โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์” ตัวพ่อทีมอเวนเจอร์ส กับบทบาทและทิศทางใหม่ของ “ไอรอนแมน”

1

“โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์” ตัวพ่อทีมอเวนเจอร์ส กับบทบาทและทิศทางใหม่ของ “ไอรอนแมน”

                       โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์  นักแสดงขวัญใจแฟนๆ ที่กลับมารับบทที่โด่งดังไปทั่วโลกของเขา “โทนี่ สตาร์ค”  หรือ “ไอรอนแมน”  อีกเป็นครั้งที่ 5 ใน  “Avengers: Age of Ultron”   ซึ่งก่อนหน้านี้ ใน  “The Avengers”  เขาเองก็พยายามจะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนๆ ในทีมและใน “Iron Man 3” เขาก็ได้ก้าวข้ามจากการพึ่งพาเทคโนโลยีที่พยุงชีพตัวเองมาได้ แล้วตอนนี้ เขาจะเดินหน้าไปในทิศทางไหนต่อ ?  สำหรับ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์  การตอบคำถามนั้นเป็นเรื่องง่ายมาก                

                        “มันมีเรื่องที่ยังจัดการไม่จบครับ มีรูหนอนที่เปิดออกเหนือนครนิวยอร์ก มีภัยคุกคามที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่ โทนี่ก็เลยต้องทุ่มเทความสนใจทั้งหมดของเขาไปกับแนวความคิดแบบ Star Warsช่วงหลังยุคเรแกนนิดๆ น่ะครับ และเขาก็ชอบเรียกมันว่า อัลตรอน”

                       ตั้งแต่เริ่มต้นโปรเจ็กต์ ดาวนีย์ จูเนียร์ ก็รู้สึกชื่นชอบอะไรหลายๆ อย่างในบทภาพยนตร์ที่มีเสน่ห์ของ มือเขียนบท / ผู้กำกับ “จอส วีดอน”      “ใน “The Avengers” ภาคแรก โทนี่ สตาร์ค เริ่มทำงานเป็นทีมมากขึ้นและใน “Iron Man 3” เขาก็ได้ก้าวข้าม จากการพึ่งพาเทคโนโลยีที่พยุงชีพตัวเองมาได้ครับ ผมก็เลยคิดว่า “โอเค แล้วไงล่ะทีนี้” แต่มันมีเรื่องที่ยังจัดการไม่จบครับ มีรูหนอนที่เปิดออกเหนือนครนิวยอร์ก มีภัยคุกคามที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่ โทนี่ก็เลยต้องทุ่มเทความสนใจทั้งหมดของเขาไปกับแนวความคิดแบบ Star Wars ช่วงหลังยุคเรแกนนิดๆ น่ะครับ และเขาก็ชอบเรียกมันว่า อัลตรอน

                   การเดินทางครั้งนี้ผมว่ามันเป็นเรื่องของการพัฒนา ความซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักทั้งหลาย ผมชอบที่ธอร์ไม่กินเส้นกับผม แล้วท้ายที่สุดก็ต้องบอกว่าผมคิดถูก มันเป็นเรื่องน่าสนใจ และลักษณะการปูพื้นเรื่องก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสุดๆ สำหรับผม แต่น่าแปลกที่สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับ ‘Avengers: Age of Ultron’ คือสิ่งที่ถูกนำเสนอในท้ายที่สุดครับ  ครั้งนี้ ผมรู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับนักแสดงคนอื่นๆ และผมกับจอสก็เป็นเพื่อนรักกันครับ                        

                        “กับสถานะของ โทนี่ สตาร์ค ในทีมอเวนเจอร์สครั้งนี้ ผมไม่รู้ว่ามีใครคนไหนในประวัติศาสตร์แฟรนไชส์ซูเปอร์ฮีโร   ที่ดูเหมือนจะมีเงินทองเหลือเฟือแบบนี้รึเปล่า เห็นได้ชัดว่าโทนี่มีเงินจับจ่ายใช้สอยอย่างเต็มที่  สิ่งสำคัญคือเขาอยากจะปรับภาพลักษณ์ ดูแลและคอยบ่มเพาะกลุ่มเอเวนเจอร์ส ซึ่งเป็นหน่วยต่อต้านเหล่าร้ายที่จำเป็น และจัดหาทุกอย่างที่พวกเขาต้องการให้กับพวกเขา แล้วมันก็มีส่วนหนึ่งในตัวเขาที่ยังคงเป็นดีไซเนอร์ นักประดิษฐ์ วิศวกรและช่างเครื่องกล  ที่อยากจะช่วยให้พวกของเขาทำอะไรต่อมิอะไรได้ดีขึ้นอีก  ดังนั้น ความสบายใจของเขาก็เหมือนกับคนที่ซื้อสโมสรฟุตบอล  แล้วอยากให้พวกเขาเปลี่ยน ยูนิฟอร์มใหม่ หาอุปกรณ์ที่ดีกว่าเดิม ให้พวกเขา  คอยคุ้มครองพวกเขาในสนามได้ดียิ่งขึ้นและทำให้พวกเขาแกร่งขึ้นและรวดเร็วขึ้นน่ะครับ”

                       ในภาพยนตร์มาร์เวลเรื่อง “Avengers: Age of Ultron” กัปตันอเมริกา ที่รับบทโดย คริส อีแวนส์ จะขึ้นเป็นผู้นำกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด แต่ครั้งนี้ ดูเหมือน โทนี่ สตาร์ค จะยอมรับได้ “ในชีวิตโทนี่ มีความสัมพันธ์แค่สองครั้งที่เขาเต็มใจจะยอมรับสถานะที่ต่ำต้อยกว่า หนึ่งก็คือกับเป็ปเปอร์ และสองก็คือกับกัปตันครับ” ดาวนีย์ จูเนียร์ บอก “สิ่งสำคัญคือใครก็ตามที่ทำงานได้ดีที่สุดก็ควรจะรับหน้าที่นั้นไป โทนี่นำอะไรมากมายมาสู่กลุ่ม ส่วนกัปตันก็มีประสบการณ์สูงสุด มันเป็นเรื่องดีเสมอที่รู้สึกว่ามีคนภายใต้การบ่มเพาะของคุณที่เริ่มชำนาญในสิ่งที่คุณต้องทำมากกว่าคุณ และก็ไม่มีใครที่มีประสบการณ์ในสงครามมากกว่ากัปตันอีกแล้วครับ”

                       ในตอนที่แฟนๆ เข้าโรงภาพยนตร์เพื่อชมภาพยนตร์มาร์เวลเรื่อง  “The Avengers: Age of Ultron”    โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์  ก็หวังว่าพวกเขาจะร้องอุทานว่า        “ว้าว” ผมหวังว่าพวกเขาจะรู้สึกดีกับหนังเรื่องนี้ เหมือนกับตอนที่พวกเขาไปดู “Iron Man 3” หรือตอนที่พวกเขาได้ดู “Captain America”หรือ “Thor” ภาคล่าสุด และรู้สึกว่ามีอะไรต้องทำและต้องพูดอีกเยอะ หนังเรื่องนี้สนุกมากและให้ข้อคิดอย่างเหลือเชื่อ มันมีธีมที่ยอดเยี่ยม มีตัวละครใหม่ๆ เอาเป็นว่าผมยอมรับในหนังเรื่องนี้ครับ    ในหนังเรื่องนี้ สิ่งที่ผมเองและทุกๆคน ได้เรียนรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับตัวละครเหล่านี้  มันจำเป็นครับ ผมเติบโตขึ้นมาในยุค 80s และ 90s  ในตอนที่แฟรนไชส์เริ่มสนใจในสิ่งที่ทำให้ตัวมันเองเวิร์คน้อยลงเรื่อยๆ โชคดีที่เราได้เห็นตัวอย่างมามาก  พอที่เราจะเรียนรู้จากมัน  และเราก็รู้ว่าเราต้องสร้างเรื่องให้ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้น เพราะผู้ชมอยากจะเกิดความพึงพอใจทางอารมณ์ และได้รับสิ่งประเทืองปัญญามากขึ้นครับ” 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments