คืนนี้ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป

คืนนี้ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป

2

คืนนี้ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป
        มีเรื่องให้ได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกแล้วล่ะค่ะสำหรับคืนนี้ เมื่อล่าสุด "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ" ได้เผยว่า จะเกิด ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน ของทุกปี และปีนี้คาดว่ามีอัตราการตกสูงสุด 21 - 22 ตุลาคม 2563 สามารถสังเกตเห็นตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. ของวันนี้ 21 ตุลาคม จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 22 ตุลาคม 2563 มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพราน อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์
ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

          โดยในปีนี้ นับเป็นโอกาสดีของการเฝ้ารอชม "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นดวงจันทร์ข้างขึ้น 4 ค่ำ ดวงจันทร์ตกลับขอบฟ้าเวลาประมาณ 22.00 น. จึงสามารถสังเกตเห็นฝนดาวตกโอไรออนิดส์ได้ตลอดทั้งคืน จนถึงรุ่งเช้า โดยแนะนำสถานที่ชมให้อยู่ในที่ห่างจากเมืองหรือบริเวณที่มืดสนิทเพื่อให้แสงรบกวนน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ นอนชมด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมความสวยงามของดาวตกโอไรออนิดส์ได้ทั่วประเทศ

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

        ทั้งนี้ "ฝนดาวตกโอไรออนิดส์" เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์

        และสำหรับผู้สนใจถ่ายภาพฝนดาวตก สามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุด คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป เนื่องจากเป็นเวลาที่ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ ดาวตกจะวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ทำให้เราเห็นดาวตกวิ่งช้าและมีโอกาสถ่ายภาพฝนดาวตกหางยาวได้ง่ายนั่นเอง

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก เพจ Facebook "NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คืนนี้ใครเหงา มารอดู “ซูเปอร์ฟูลมูน” กันมั้ย?

พลาดคืนนี้รออีก 19 ปีเลยนะ! กักตัวอยู่บ้านเหงาๆ ชวนแหงนดู “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” บนฟ้า

มีเวลา 30 นาที! วันนี้ชวนชม “ดาวเคราะห์ชุมนุม” หลังอาทิตย์ลับขอบฟ้า

หลังตะวันตกดินห้ามพลาด! 2 ปรากฏการณ์ “ดาวเคราะห์ชุมนุม” และ “ดาวเคียงเดือน”

คืนนี้ห้ามพลาด “ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ” ดูได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ 1 ทุ่มเป็นต้นไป

คืนนี้ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ 5 ทุ่มเป็นต้นไป

ฮือฮาทั่วโลก! พบหลักฐานสำคัญ ที่อาจบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิตบน “ดาวศุกร์”

Comments