“ครูก้อย นัชชา” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” แนะผู้หญิงท้องยาก ควรลดหวาน ลดเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

“ครูก้อย นัชชา” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” แนะผู้หญิงท้องยาก ควรลดหวาน ลดเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

0

“ครูก้อย นัชชา” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” แนะผู้หญิงท้องยาก ควรลดหวาน ลดเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

         “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ครูวิทยาศาสตร์ ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์” หลังขึ้นแท่นเป็นกูรูด้านการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยากแล้ว ยังให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ผ่านเพจ https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th โดย                ล่าสุดครูก้อย ได้ แนะนำ ผู้หญิงท้องยาก ควรลดหวาน ลดเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) เสี่ยงท้องยากว่า ขนมหวานและน้ำหวานเป็นเมนูที่อยู่คู่คนไทยมานาน ยิ่งอากาศร้อนอบอ้าวการได้ทานขนมหวานๆ หรือดื่มน้ำหวานเย็นๆคงช่วยให้ชื่นใจไม่น้อย จึงทำให้คนไทยนิยมทานหวานจนสถิติติดหวานและบริโภคน้ำตาลมากกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้เกินวันละ 6 ช้อนชา ถึง 4 เท่า

ครูก้อย นัชชา เจมส์ เรืองศักดิ์

ครูก้อย นัชชา เจมส์ เรืองศักดิ์

          นอกจากนี้แล้วร่างกายยังได้รับน้ำตาลจากข้าวขาว และเส้นก๋วยเตี๋ยวและเมนูเส้นต่างๆ ซึ่งเป็นเมนูอาหารหลักของคนไทยอยู่แล้วในรูปคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว โดยร่างกายก็จะเปลี่ยนคาร์บเชิงเดี่ยวเป็นน้ำตาลที่เรียกว่า "กลูโคส" และดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ผนวกกับน้ำตาลขัดขาว (refined sugar) จากขนมหวาน เมื่อทานเข้าไปแล้ว ร่างกายจะย่อยทันทีอย่างรวดเร็วส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันทีจึงทำให้รู้สึกสดชื่นและมีพลังงานขึ้นหลังจากกิน แต่จะหิวบ่อย และเสี่ยงต่อ ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ฮอร์โมนไม่สมดุล รวมถึงโรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ประจำเดือนมาไม่ปกติ เซลล์ไข่ด้อยคุณภาพ และท้องยาก

ครูก้อย นัชชา เจมส์ เรืองศักดิ์

 

ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร?

            ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย ประจำเดือนขาดหายไป ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9 สูตรคำนวนคือ "Body Mass Index หรือ BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง(เมตร)x ส่วนสูง (เมตร)" ถ้าค่า BMI น้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป แต่หากค่า BMI มากกว่า 24.9 ถือว่าอ้วน

           “ครูก้อย นัชชา” แนะนำคนวางแผนท้องและมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) ต้องงดหวานโดยเด็ดขาด และควบคุมน้ำหนักให้มีดรรชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยหากต้องการความหวานควรเลือกทาน น้ำตาลจากธรรมชาติ ผัก ผลไม้ น้ำผึ้งชันโรง หรือ อินทผลัม ทดแทนขนมหวาน น้ำหวาน หรือน้ำอัดลม

           โดยเฉพาะ “น้ำผึ้งชันโรง” เป็นโภชนเภสัชที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระ "ฟีนอลิก" (Phenolic) สูงกว่าน้ำผึ้งทั่วไป 5-10 เท่า ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ จากงานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Report เมื่อปี 2020 ศึกษาพบว่าเหตุผลที่ “น้ำผึ้งชันโรงส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน” เพราะในน้ำผึ้งชันโรงนั้นมีน้ำตาลชนิดพิเศษ ที่ขณะนี้พบในน้ำผึ้งชันโรงเท่านั้น ยังไม่พบในอาหารชนิดอื่นชื่อว่า Trehalulose ที่ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเฉียบพลัน และยังเป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) และค่าดัชนีอินซูลินต่ำ ( Low Insulinemic Index) จึงเป็นน้ำตาลที่มีประโยชน์และปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นน้ำตาลที่ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ (acariogenic) และยังให้สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) สูงอีกด้วย

            จากรายงานการวิจัยเรื่อง “ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียของน้ำผึ้งชันโรง” จากวารสาร Journal of Asia-Pacific Entomology ปี ค.ศ.2018 พบว่าน้ำผึ้งชันโรงนั้นมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าน้ำผึ้งรวงหลายเท่าตัว โดยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติจำพวก กรดฟีนอลิก(Phenolic) และ สารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ซึ่งมีอยู่ถึง 99.04±5.14 mg/ml และ 17.67±0.75 mg/ml ตามลำดับ

             นอกจากนี้น้ำผึ้งชันโรงยังมี "โพรไบโอติกส์" (Probiotics) และ "พรีไบโอติกส์" (Prebiotics) โดยลักษณะสีของน้ำผึ้งชันโรงและรสชาติเปรี้ยวอมหวานเกิดจากการหมักบ่มตามธรรมชาติจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ และมดลูก นอกจากนี้แล้วน้ำผึ้งชันโรงยังมีฤทธิ์ต้านการการอักเสบ (Anti-inflammatory) ช่วยปกป้องเซลล์ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ร่างกายไม่เจ็บป่วยง่าย เป็น super food ที่นิยมกันมากในประเทศบราซิล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มาเลเซีย โดยเฉพาะใน ประเทศมาเลเซียนั้นน้ำผึ้งชันโรงเป็นที่ยอมรับในวงกว้างถึงสรรพคุณทางยาจนถึงขั้นเรียกว่า “the mother medicine”

ครูก้อย นัชชา เจมส์ เรืองศักดิ์

          ส่วน “น้ำอินทผลัม” อุดมด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์โพลีฟีนอล (polyphenol) ซึ่งมีอยู่สูงมากประมาณ 50.2mg/g จะช่วยเรื่องการเสริมภาวะการเจริญพันธุ์ในเพศหญิง และมีสารสารไฟโตสเตอรอล (phytosterols) และ ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens) ที่ช่วยควบคุมสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงรวมทั้งยังช่วยยับยั้งการเสื่อมของเซลล์จากอนุมูลอิสระอีกด้วย นอกจากนี้มียังมีธาตุเหล็กและไฟเบอร์สูง ผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรดื่มเพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจาง และยังเหมาะสำหรับผู้หญิงที่ใส่ตัวอ่อนเพราะช่วยในการฝังตัวของตัวอ่อน และช่วยลดอาการท้องผูก นอกจากนี้ยังมีฟีลกูลีนช่วยบำรุงสเปิร์ม สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มก่อนคลอด น้ำอินทผลัมช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่าย และยังช่วยกระตุ้นน้ำนม เป็นการเตรียมน้ำนมให้พร้อมสำหรับลูกน้อย

นอกจาก “งดหวาน” แล้วต้องเน้นทานอาหารตามหลักโภชนาการ มีงานวิจัยหลายฉบับที่ออกมารายงานถึงโภชนาการที่ช่วยเยียวยาภาวะ PCOS ได้ โดย “ครูก้อย” ได้ยกตัวอย่างรูปแบบการกินอารหารแบบ Dietary Approaches to Stop Hypertension หรือ DASH Diet ที่มีผลในการเยียวยาอาการของภาวะ PCOS ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และลดการอักเสบ ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายอักเสบ และเหนี่ยวนำฮอร์โมนเพศชายให้สูงขึ้น และยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ซึ่งส่งผลดีต่อการเยียวยา PCOS ดังนี้

เน้นทานโปรตีน โดยเลือกทานโปรตีนจากสัตว์ที่มีแหล่งโปรตีนชั้นดีและไม่ติดมัน ปลอดสารเร่งเนื้อแดง ไข่ ปลา และอกไก่ เน้นโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) ได้แก่ ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เช่น ไข่ เนื้อปลา อกไก่ หรือ นมแพะ เป็นต้น

ครูก้อย นัชชา เจมส์ เรืองศักดิ์

            ลดคาร์บเชิงเดี่ยว งดข้าวขาว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หันมาทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว และธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือย งาดำ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น

         ทานกรดไขมันดี (HDL) กรดไขมันดี โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เป็นไขมันจำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและช่วยให้ฮอร์โมนสมดุล การตกไข่เป็นปกติ และยังช่วยให้ไข่ พบในปลาทะเล น้ำมันปลา (Fish Oil) อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำ แฟล็กซีด และอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น

          เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ไข่ด้วย โดยอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว น้ำมะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด

          นอกจากปรับรูปแบบการกินตามหลักโภชนาการที่ช่วยเยียวยาภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) แล้ว ควรการพักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียดและออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ โดยผู้ที่อยู่ระหว่างเตรียมตั้งครรภ์และมีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) สามารถแอดไลน์ ขอตารางอาหารบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ ตาม “คัมภีร์ที่คนอยากท้องต้องกิน” และขอคำปรึกษาได้ฟรีที่ BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าวทิ้งท้าย.

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“เจมส์ เรืองศักดิ์” เปย์ภรรยาในวันเกิดด้วยที่ดิน 60 ไร่

“เจมส์ เรืองศักดิ์” ร้องเพลงเขมรลงติ๊กต๊อก คนดู 4 ล้าน แฟนๆ ชมร้องเป๊ะทุกคำ ทำตารางงานแน่น

“ครูก้อย” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” โพสต์ชวนลุ้นเตรียมใส่ตัวอ่อน หญิง หรือ ชายดี?

“ครูก้อย“ ร่ายยาวเล่าความในใจ ของชีวิตมนุษย์แม่ เคยเจอเคสหนักสุดทำ ICSI 17 ครั้ง

“เจมส์-ครูก้อย” ลงเสาเอก เตรียมสร้างออฟฟิศใหม่ใหญ่กว่าเดิม ดูจากที่ดินแล้วไม่ธรรมดา!

“น้องฉัตร” จัดให้! แปลงโฉม “ครูก้อย นัชชา” ภรรยา “เจมส์ เรืองศักดิ์” จากสาวใต้ตาคม สู่ลุคสวยละมุน

“ครูก้อย นัชชา” แนะนำบทบาทของคอลลาเจนในการส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์ และการเตรียมตั้งครรภ์

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments