น้ำท่วมหนักมาก! บ้าน “ณเดชน์” รอน้ำลด
เรียกว่าสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานได้รับผลกระทบจากพายุโนรู และฝนประจำฤดูหนักมาก กระทั่งทำให้ขอนแก่นบางจุดมีน้ำท่วมขังรอระบาย
ล่าสุดแม่แก้ว แม่ของ “ณเดชน์ คูกิมิยะ” หลังจากที่ได้โพสต์น้ำท่วมในหมู่บ้านมาหลายวัน ล่าสุดก็แจ้งว่าน้ำเริ่มลงโดยแม่แก้วบอกว่า
…หายห่วง…กราบขอบพระคุณกรรมการหมู่บ้านเขาไทยมากๆด้วยนะคะ
อ่านต่อ: “ญาญ่า” พร้อมสู้! งานแต่ง “คิม” ต้องได้ดอกไม้เท่านั้น แย้มรอคิวว่าง ...
ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
+ ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง สูงสุดที่ จ.อุบลราชธานี (204) จ.ปราจีนบุรี (145) และ จ.เชียงใหม่ (115)
+ ปริมาณน้ำ แหล่งน้ำทุกขนาด 57,727 ล้าน ลบ.ม. (70%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 50,332 ล้าน ลบ.ม. (70%) เฝ้าระวังน้ำต่ำกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง บริเวณภาคเหนือ เฝ้าระวังน้ำสูงกว่าเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จำนวน 14 แห่ง ได้แก่ แม่งัด กิ่วคอหมา แม่มอก ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านฯ คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และบึงบระเพ็ด
+ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 กันยายน –2 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ
1.3 ภาคกลาง จ.สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.4 ภาคตะวันออก จ.นครนายก สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
1.5 ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และนราธิวาส
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและ ลำน้ำสาขา ของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเลย แม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรหม ลำน้ำพอง แม่น้ำมูล แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตราด
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด 13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล แม่มอก กิ่วคอหมา ทับเสลา กระเสียว อุบลรัตน์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ขุนด่านปราการชล คลองสียัด นฤบดินทรจินดา และบางพระ รวมทั้งอ่างฯขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
กอนช. ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือพายุไต้ฝุ่น “โนรู (NORU)“ ที่มีโอกาสเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้
กรมชลประทาน ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ เร่งกำจัดวัชพืชสิ่งกีดขวางทางน้ำ วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ด้วยการปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง