วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา มรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติพร้อมต่อยอดเศรษฐกิจวัฒนธรรม

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา มรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติพร้อมต่อยอดเศรษฐกิจวัฒนธรรม

0

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา มรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติพร้อมต่อยอดเศรษฐกิจวัฒนธรรม

       (วันที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 น.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดพิธีเปิดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ เคบายาเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL) ประจำปี 2567 ในพิธีเปิดงาน นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธาน โดยมี นายประสพ เรียงเงินอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมด้วย Ms. Soohyun Kim ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร เชฟชุมพล เชฟระดับมิชลิน และเป็นผู้ทำอาหารไทยเสิร์ฟในเวทีเอเปค 2022 (APEC 2022) พร้อมคณะทูตานุทูต 8 ประเทศ ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เมียนมา จีน สิงคโปร์ กัมพูชา และมาเลเซีย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ Quartier Avenue ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็มควอเทียร์

อ่านข่าวต่อ: วธ.เผย ยูเนสโก ประกาศรับรอง “เคบายา” มรดกวัฒนธรรมร่วม 5 ประเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

        “นางสาวสุดาวรรณ ประธานได้กล่าวแสดงความยินดี ในงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา ว่า เป็นเรื่องน่ายินดียิ่งที่ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน ต้มยำกุ้งและ เคบายาเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ครั้งที่ 19 ณ เมืองอะซุนซิออง สาธารณรัฐปารากวัย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

      ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2559 และได้ดำเนินการร่วมกับชุมชนเสนอรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบัน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก เป็นมรดกวัฒนธรรมฯ รวม 6 รายการ คือ โขนปี พ.ศ. ๒๕๖๑ นวดไทยปี พ.ศ. ๒๕๖๒ โนราปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และ สงกรานต์ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และในปี 2567 คือ ต้มยำกุ้ง และ เคบายา

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง

       “นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า ในวาระแห่งการฉลองการประกาศขึ้นทะเบียน ต้มยำกุ้งและ เคบายาเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในนามของรัฐบาลและประชาชนไทย ขอประกาศเจตนารมณ์ในการรักษาและสืบทอด รายการมรดกภูมิปัญญาฯ ต้มยำกุ้งและ เคบายาโดย

       ๑.ประเทศไทย จะร่วมกันธำรงรักษา ถ่ายทอด และสร้างสรรค์มรดกภูมิปัญญา ให้มีการปฏิบัติและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยมาตรการส่งเสริมและรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งให้ความเคารพและยอมรับต่อวิถีปฏิบัติของทุกชุมชน

       ๒.จะส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่า และความสำคัญของมรดกภูมิปัญญา ในฐานะตัวแทนมรดกวัฒนธรรมฯ ซึ่งสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ และบ่อเกิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ๓.จะเปิดโอกาสอย่างทั่วถึงแก่คนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกภาษา และทุกศาสนา ให้ร่วมกันส่งเสริม รักษา และสืบทอดมรดกภูมิปัญญา ทั้ง 2 รายการ ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเคารพต่อธรรมเนียมปฏิบัติของชุมชน ด้วยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา

       “รัฐบาลและประชาชนไทย จะร่วมกันดำเนินการในทุกวิถีทางอย่างเต็มความสามารถ ให้เจตนารมณ์ทั้ง ๓ ข้อ บรรลุผลสัมฤทธิ์ เพื่อสนับสนุนให้มรดกภูมิปัญญา ต้มยำกุ้งและ เคบายาดึงดูดให้ผู้คนจากทุกมุมโลกเข้ามาในประเทศ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถของประชาชนในการให้บริการ ด้วยการพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมอาชีพ กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนวัฒนธรรมรมว.วธ.กล่าว

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา

รมว.วธ.กล่าวทิ้งท้ายว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีแผนในการส่งเสริมและต่อยอดมรดกวัฒนธรรม หลังจากยูเนสโก ขึ้นทะเบียน ต้มยำกุ้ง - เคบายา แล้ว ด้วยการขับเคลื่อน Soft power ด้านอาหาร และ ด้านแฟชั่น ตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม จะนำเศรษฐกิจทางวัฒนธรรม กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละคร เกม รายการโทรทัศน์ รวมถึงสื่อออนไลน์ ให้สอดแทรกเนื้อหา ต้มยำกุ้ง เพื่อสร้างกระแสความนิยมในวงกว้าง และบูรณาการกับภาคธุรกิจ-การท่องเที่ยว ในการนำ ต้มยำกุ้ง เป็นเมนูหลัก เมนูอาหารต้องชิม เมื่อมาเที่ยวเมืองไทย บรรจุลงในโปรแกรมการท่องเที่ยว และเป็นเมนูอาหารที่ต้องระบุไว้ในรายการอาหารขึ้นโต๊ะผู้นำ รวมทั้งผู้เข้าร่วมในการประชุมที่จัดในประเทศไทย หรือที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เชิญชวนให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวและการบริการ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ร่วมจัดแคมเปญพิเศษในการส่งเสริมการขายเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายเมนูต้มยำกุ้ง รวมถึงยอดขายวัตถุดิบต่างๆ และยังเป็นการสร้างการรับรู้ถึงคุณค่าและสาระของเมนูต้มยำกุ้งไปสู่ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกด้วย และในส่วน ภาคชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยมุ้งเน้นบูรการร่วมกับหอการค้า สมาคม ชุมชน เครือข่ายในพื้นที่ ที่มีวัฒนธรรมการแต่งกายเคบายา ร่วมจัดแคมเปญพิเศษในการส่งเสริมการขาย ด้วยการเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติสวมใส่ ชุดเคบายา พร้อมถ่ายรูปท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างสีสันไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ของชุมชนอีกด้วย

นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

      ​ทั้งนี้ บรรยากาศในพิธีเปิดงานฉลองฯ เริ่มด้วยการแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงแฟชั่นโชว์ ชุดเคบายา โดย นางสาวพนิดา เขื่อนจินดา (ดินสอสี) นางสาวไทย ปี ๒๕๖๗ พร้อมด้วยรองนางสาวไทย อันดับ ๑ และ อันดับ ๒ และผู้แสดงจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จากนั้น ประธานกล่าวแสดงความยินดี และได้สาธิตสาธิตการทำต้มยำกุ้ง พร้อมให้ผู้เข้าร่วมพิธีเปิดได้ชิมฟรี ทั้งนี้ ภายในงานมี นิทรรศการ นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ ต้มยำกุ้ง และเคบายาสาธิตการปรุง/ประกอบอาหารต้มยำกุ้ง ให้ประชาชนชิมฟรี โดยเชฟตุ๊กตา (ร้านบ้านยี่สาร) เชฟกระทะเหล็ก ในวันที่ 6 ธ.ค. และพบเชฟเมย์ พัทรนันท์ ธงทอง เชฟกระทะเหล็ก 7-8 ธ.ค. นี้ นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการปักและจัดทำชุดเคบายา พร้อมซุ้มอาหารและจำหน่ายเครื่องแต่งกายเคบายา จากจังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล ผู้ที่มาเที่ยวงานยังได้อิ่มอร่อยกับร้านอาหารที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ระดับชาติ อีก 20 บูธ ตลอดทั้ง 3 วัน

      ภายในงานยังมีนิทรรศการให้ความรู้รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก (UNESCO) จำนวน 4 รายการ ได้แก่ โขน (2561) นวดไทย (2562) โนรา (2564) และสงกรานต์ (2566) รวมด้วยการแสดงทางวัฒนธรรม สร้างสีสัน ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2567 เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ Quartier Avenue ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รัฐมนตรีปุ๋ง สุดาวรรณ” เร่งให้ วธ. ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติ ปี 67 เตรียมเสนอ “ประเพณีลอยกระทงในประเทศไทย” ขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก

วธ.ชวนประชาชนร่วมงานฉลองต้มยำกุ้ง - เคบายา มรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติพร้อมต่อยอดเศรษฐกิจวัฒนธรรม

สดจากปารากวัย! คืนนี้เตรียมลุ้นประกาศ “ต้มยำกุ้ง” ของไทย เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของ “ยูเนสโก”

วธ.จับมือภาคีจัดงาน “อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา” เปิดตัว Logo “ปักธงอาหารถิ่น” เพลงประจำโครงการ Thailand Best Local Food  เชิดชูอาหารถิ่น

“เชฟป้อม” พร้อมเผยแพร่ “ต้มยำกุ้ง” สูตรต้นตำรับสู่สากล

Comments