และมีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูกนั้นเปราะบาง และแตกหักง่ายกว่าปกติ
ปริมาณของมวลกระดูกและเนื้อกระดูกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวัย จนอายุย่าง 25-30 ปี การสะสมของมวลกระดูกก็จะหยุด ลง ซึ่งจะแตกต่างกันตามปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะทางโภชนาการ การออกกําลังกาย
จนเมื่ออายุประมาณ 35-40 ปี ระดับมวลกระดูกจะเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดเอารังไข่ออก
ควรรับประทานสับปะรด เพราะมีสารแมงกานีส ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทําให้กระดูกและฟันแข็งแรง รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม กุ้งแห้ง ปู ปลาเล็กปลาน้อย และผักใบเขียว โดยเฉพาะใบชะพลู ผักแพว ที่มีแคลเซียมสูง จะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ♦