เอ็กแซ็กท์และ"มาลัยสามชาย"

เอ็กแซ็กท์และ"มาลัยสามชาย"

1

       ซึ่งได้รับรางวัลนวนิยายดีเด่น ประจําปี 2551 การันตีถึง "คุณภาพ" ของนวนิยายเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

ใครที่เป็น "คอนวนิยาย" และได้อ่าน "มาลัยสามชาย" ในภาคของหนังสือมาแล้ว คงรู้แจ้งเห็นชัดแล้วว่า เป็นนวนิยายที่ "สุดยอด" เรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นนวนิยายที่มียอดขายติดอันดับเบสท์เซลเลอร์

"มาลัยสามชาย" เป็นเรื่องชีวิตรักดั่งนวนิยายทั่วไป ต่างกันตรงที่บรรยากาศของเรื่องเป็นฉากย้อนยุคในสมัยรัชกาลที่ 5 ไล่ขึ้นมา ดังนั้นนักเขียนต้องอาศัยข้อมูล รายละเอียดที่ถึงพร้อมในแง่ประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงวิถีชีวิตของชนชั้นสูงในสังคมออกมาได้อย่างถูกต้อง แม่นยํา แม้กระทั่งทรงผม เสื้อผ้า บทสนทนาของตัวละคร นักเขียนต้องพิถีพิถันในทุกรายละเอียด

 


สําหรับนักเขียนชื่อดังอย่าง "ว.วินิจฉัยกุล" แล้ว บรรดารายละเอียดเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องเกินวิสัยของเธอเลยก็ว่าได้ "มาลัยสามชาย" จึงเป็นนวนิยายย้อนยุคที่สมจริง สมจัง มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วยเกร็ดเล็กน้อยที่บรรจุอยู่ในเนื้อหา ซึ่งคนที่เกิดในยุคหลังๆ ไม่เคยรู้ก็ได้รู้

ที่สําคัญคือ ไม่จงใจให้เรื่องผู้หญิง 3 สามี เป็นเรื่องประเจิดประเจ้อ หรือเขียนประจานกัน เหมือนอย่างที่โบราณว่าเอาไว้ ผู้ชาย 3 โบสถ์ คือผู้ชายที่บวช 3 ครั้ง มักจะถูกดูหมิ่นดู แคลนจากคนทั่วไป เช่นเดียวกับผู้หญิงมากผัว จะถูกมองเป็นคนมากราคะ มักมาก ในกาม

แต่ "ว.วินิจฉัยกุล" พลิกภาพผู้หญิงมากผัวมากสามี สามารถจะเป็นผู้หญิงที่ได้รับการเชิดหน้าชูตาจากสังคมได้ และไม่ใช่ความผิดของ "ผู้หญิง" ที่ต้องเป็นแบบนั้น ธรรมชาติของผู้หญิงทุกคนรักเดียวใจเดียว มีความรับผิดชอบต่อเพศของตัวเองทั้งนั้น เพียงแต่สถานการณ์บังคับ ขีดกรอบให้เธอ มี "ทางเลือก" จํากัด ที่จะต้องเดิน

 


เหมือนอย่างที่ "ว.วินิจฉัยกุล" เปรียบเอาไว้ว่า..."เหมือนเถาไม้อ่อนที่ไม่อาจยืนหยัดอยู่ได้ตามลําพัง ต้องพึ่งพิงไม้ใหญ่อยู่เสมอ"...อ่านแล้วเจ็บจี๊ดถึงขั้วหัวใจทีเดียว

เพราะไม่เพียงเพศหญิงเท่านั้น ที่ต้อง "พึ่งพิง" ไม้ใหญ่ แม้แต่ชายอกสามศอก ก็หนีกฎธรรมชาตินี้ไม่พ้นเช่นกัน

วันนี้ "มาลัยสามชาย" ได้ถูกสร้างเป็นละคร โดยค่ายเอ็กแซ็กท์ ของ "บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ" ออกอากาศทางช่อง 5

ผู้จัดละครทุกคน-ทุกค่าย ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ละครที่ทํายาก โหดหินที่สุด คือละครอิงประวัติศาสตร์ เพราะถ้า "มือไม่ถึง" ฝีมือไม่ดีจริง เผลอๆ ละครจะออกมาในแนวยี่เก ขาดความสมจริง ขาดความน่าสนใจ

"บอย-ถกลเกียรติ" ทําละครมาแล้วหลากหลายแนว ได้เรทติ้งบ้าง-ไม่ได้บ้าง สุดแล้วแต่บุญวาสนา เพราะคิดเอง เออเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระแสคนดู แต่พอมาทํา "ละครเวที" กลับ "โดน" ทุกเรื่อง

 


"ละครเวที" เป็นการแสดงสด เหมือนเราดูงิ้ว ดูลิเกตามงานต่างๆ ไม่มีการตัดต่อ เล่นดีคนปรบมือ ถ้าไม่ดี เผลอๆ อาจมีก้อนอิฐปลิวว่อนใส่เวที

คนที่ประสบความสําเร็จจาก "ละครเวที" เมื่อมาทําละครอิงประวัติศาสตร์อย่าง "มาลัยสามชาย" จึงไม่ใช่เรื่องยากสําหรับ "บอย-ถกลเกียรติ" ทุกช็อต ทุกซีน ได้อารมณ์ ดูสนุก ไม่มีบทตบตี ปากว่ามือถึงเกลื่อนจอ จนเปรอะเลอะเทอะแบบไร้เหตุผล

บท "ลอออร" ตัวเด่นของเรื่องทั้งในนวนิยายและละคร เป็นเรื่องยากอีกด่านที่จะหาตัวนักแสดงคนไหนมาเล่นได้ "โชะ"

แต่ "อ้อม-พิยดา" กับบทบาทนี้ถือว่าเธอเล่นได้เยี่ยม ทั้งสีหน้า ท่าทาง ดูสมจริงสมจัง ไม่ต่างจาก "ลอออร" ในนวนิยาย ที่กระโจนออกมาจากตัวหนังสือให้เห็นกันสดๆ

 


แม้แต่ "แป้ง-อรจิรา" ซึ่งรับบทเป็น "ทองไพรํา" คู่รักคู่แค้นของ "ลอออร" ที่ต้องตามล้างตามเช็ดกันตลอดทั้งเรื่อง ก็เล่นได้ไม่เลว จริตที่เต็มไปด้วยราคะ วาบให้เห็นทันทีเวลาที่โผล่หน้าจอ

ดาราคนอื่น ทั้ง กัปตัน-ภูธเนศ, ก้อง-สหรัถ, สน ส่งไพศาล, ภูริ หิรัญพฤกษ์ ฯลฯ ขนคุณภาพมาประชันกันเต็มจอ

เท่าที่ผมไล่เรียงชื่อดาราที่เล่นละครเรื่องนี้ นับนิ้วดูแล้วไม่ต่ำกว่า 30 คน แถมทุกคนล้วนเป็นดาราชื่อดังทั้งอดีต-ปัจจุบัน

ต้องนับถือน้ำใจ "บอย-ถกลเกียรติ" อย่างหนึ่งคือ "ไม่ทิ้งดาราเก่า" มีบทไหนที่เหมาะจะจับมาลงจอทันที ไม่ใช่ "ไม่ดัง" แล้วถีบหัวส่ง ไม่สนใจไยดี แต่ "บอย-ถกลเกียรติ" รู้ค่าของอดีตดี พอๆ กับเห็นค่าของปัจจุบัน

ไม่ยังงั้นคงไม่หยิบ "มาลัยสามชาย" มาสร้างเป็นละครหรอกครับ!?  ♦

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments