"ซามูไรอโยธยา"เป็นมากกว่าหนัง

"ซามูไรอโยธยา"เป็นมากกว่าหนัง

1

       ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2153-2117 สมัยนั้น พระเจ้าทรงธรรมทรงสนพระทัยการทูตกับประเทศญี่ปุ่นมาก

ได้ส่งคณะทูตจํานวน 60 คนของพระองค์ไปยังเมืองเอโดะ ประเทศญี่ปุ่น เอโดะเมื่ออดีต ก็คือ "โตเกียว" ในปัจจุบัน พร้อมกับมีพระราชสาส์นใจความว่า อยุธยาดูแลเอาใจใส่ชาวญี่ปุ่นดังราษฎรของอยุธยาเองการเดินทางกลับของคณะทูตไทยครั้งนั้น มี "ซามูไร" ชั้นผู้น้อยคนหนึ่งขอเดินทางมากับคณะทูตด้วย ซามูไรผู้นี้มีนามว่า "ยามาดะ นางามาสะ"

เมื่อเข้ามาอยู่ในไทย "ซามูไร ยามาดะ" ทํางานขยันขันแข็งจนได้รับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่น และเจริญก้าวหน้าเป็นลําดับ ได้รับตําแหน่งเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในชื่อ "ออกญาเสนาภิมุข" ซึ่งตําแหน่ง "ออกญา" เทียบเท่า "พระยา"

ถ้าเดาไม่ผิด "ซามูไร ยามาดะ" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับตําแหน่งนี้ จากนั้น "ซามูไร ยามาดะ" ถูกส่งไปเป็นเจ้าเมืองนครศรี-ธรรมราช ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

 


"ซามูไร ยามาดะ" คนญี่ปุ่นที่ตัดสินใจหอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาอาศัยแผ่นดินไทย จนได้ดิบได้ดี ซาบซึ้งในน้ำใจคนไทย และต้องการทดแทนบุญคุณชีวิตในครั้งนี้ เขาจึงสัญญากับตนเองว่า.."แม้มิใช่แผ่นดินเกิด แต่จักขอเป็นแผ่นดินตาย"

อ่านประโยคสุดท้ายแล้ว เจ็บจี๊ดถึงขั้วหัวใจทีเดียว เพราะ "ซามูไร ยามาดะ" ไม่ใช่คนไทย เพียงแค่เข้ามาอาศัยข้าวแดงแกงร้อน และผืนแผ่นดินเป็นถิ่นตั้งรกราก แต่ก็มี "จิตใจ" รักไทยเหนือกว่าคนไทยอีกหลายคน ที่คอยจ้องบ่อนแซะทําลาย เหมือนกับว่าไม่ใช่แผ่นดินเกิด แผ่นดินตาย ซะยังงั้น!!

จริงๆ แล้ว ประวัติ "ซามูไร ยามาดะ" มียาวเหยียด และหลายเวอร์ชั่น ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาได้

แต่ถ้าอยากรู้แบบเห็น "ยามาดะ" ตัวเป็นๆ โผล่อยู่ ตรงหน้า ต้องไปดู "ซามูไรอโยธยา" หนังของ "มด-นพพร วาทิน" ที่ตั้งใจสร้าง เพื่อสะท้อนให้เห็วัฒนธรรม 2 แผ่นดินที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

"มด-นพพร" เป็นผู้สร้างหนัง-ละคร และผู้จัดรายการที่แวดวงบันเทิงรู้จักกันดีในความพิถีพิถันของเนื้องาน ดูอย่างละครเรื่อง "มือปืน" ละครเรทติ้งดีอีกเรื่องของช่อง 3 ที่มี "หนุ่ย-อําพล ลําพูน" เล่นไม่ว่าจะเป็นบทการถ่ายทําเนี้ยบตลอดทั้งเรื่อง

 


จนทุกวันนี้ก็ยังหาละครดีๆ มีสาระแบบนี้ไม่ได้ เพราะผู้จัดปัจจุบัน เน้นทํา "ละครตลาด" มากกว่าจะเจือ "คุณภาพ" ในชิ้นงาน

กว่า 20 ปีที่ "มด-นพพร" โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิง สร้างชิ้นงาน ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชิ้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ก่อร่างสร้างขึ้นมา เขาไม่เคยลืม "สาระ" แม้จะเป็นบันเทิง ก็ต้องออกมาในร่องแอ่งของ "บันเทิงเชิงสาระ"

ระยะหลัง "มด-นพพร" ถอยห่างจากงานละครและรายการพอสมควร เพื่อทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ให้เวลากับงานหนัง เรื่อง "ซามูไร อโยธยา"

"ซามูไรอโยธยา" ถือเป็นบันทึกประวัติศาสตร์อีกหน้าของ ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ที่เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กันยาฯ 2443 หรือ 100 กว่าปีที่แล้ว โดยนํานักแสดงทั้ง 2 ชาติมาเล่นเป็นสะพานเชื่อมให้เห็นสายสัมพันธ์อันดีตลอดมา

"เซกิ โอเซกิ" นักแสดงสายเลือดซามูไรรับบทเป็น "ยามาดะ นางามาสะ" ซามูไรหนุ่ม ที่มีความสุขุมลุ่มลึก อดีตทหารอารักขาขุนนางญี่ปุ่นที่เสียอํานาจ จึงเดินทางข้ามแผ่นดินมายังเมืองอโยธยา

ใช้ความเก่งกล้าของวิชาซามูไรและวิชามวยไทยที่ได้ร่ำเรียนจากพระครู เข้าคัดเลือกเป็นทนายเลือก ทหารเอกองครักษ์ของสมเด็จ  พระนเรศวรมหาราช

ส่วนนักแสดงฝั่งไทย ไม่ว่าจะเป็น สรพงศ์ ชาตรี ซึ่งรับบทเป็นพระครู, วินัย ไกรบุตร ที่เล่นเป็น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รวมทั้ง ส้ม-ธรรมรส (กนกกร) ใจชื่น" อดีตมิสไทยแลนด์เวิลด์ปี 2007 รับบทเป็นจําปา ที่แอบมีใจให้กับ "ยามาดะ" แต่รักครั้งนี้ก็ใช่ว่าจะโรย ด้วยกลีบกุหลาบ

 


ที่สําคัญ "มด-นพพร" ยังจับนักมวยชื่อดังของไทยมาลงจออาทิ บัวขาว ป.ประมุข นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังในญี่ปุ่น เคยเป็นแชมป์เค-วันมาแล้ว ค่าตัว "บัวขาว" ในการขึ้นชกเค-วันแต่ละครั้ง ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

รวมทั้ง ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์, แชมป์มวยลุมพินี สมจิตร จงจอหอ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิกคนล่าสุด และ ฯลฯ

"ซามูไรอโยธยา" นอกจากสะท้อนประวัติศาสตร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้ ยังเป็นการส่งเสริมศิลปะไทยที่ชื่อ "มวยไทย" ให้ทั่วโลกได้รับรู้

ศิลปะที่มีค่าและมีเกียรตินั้น มันต้องมาจากพวกเราด้วยกันเองที่จะต้องร่วมกันสร้าง-สาน ไม่ใช่รอง้างเอาจากมือคนอื่นมาใส่ปาก  แบบนั้น คงได้อยู่หรอก!? เพราะเห็นๆ กันอยู่ ตอนนี้ "ศิลปะไทย" ถูกต่างชาตินําไปดัดแปลง ตกแต่งกลายพันธุ์เป็นอย่างอื่น ทั้งๆ ที่พื้นฐานมันคือ "มวยไทย" ทั้งเพ

"ซามูไรอโยธา" จึงเป็นมากกว่าหนัง ที่สร้างแค่เสียงหัวเราะ ความสนุกสนาน แต่เกื้อหนุนศิลปะไทย ให้ประชาชนรู้สึกว่า "มีส่วนร่วม" ในความเป็นประเทศ

ไปดูเถอะครับ แล้วจะรักและหวงแหน "มวยไทย" มากยิ่งขึ้น!!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments